5.โรคอุจจาระร่วง (Diarrhea)
โรคอุจจาระร่วง (Diarrhea)
ความหมาย การถ่ายอุจจาระที่มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นหรือเนื้ออุจจาระลดลง หรือถ่ายอุจจาระ 3 ครั้งต่อวันหรือมากกว่า ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำจำนวนเกิน 1 ครั้งภายใน 24 ชั่วโมง หรืออุจจาระเหลวมีน้ำมากกว่าปกติ 3 ครั้งในจำนวน 12 ครั้ง หรือถ่ายเหลวมีมูกเลือดปนเพียงครั้งเดียว สำหรับทารกที่กินนมแม่อาจถ่ายอุจจาระเหลวบ่อยครั้ง
แต่ไม่ถือว่าเป็นอาการท้องเดิน แต่ถ้าถ่ายเป็นน้ำจำนวนมากและบ่อยครั้งกว่าที่เคยเป็นจะถือว่าผิดปกติ ส่วนใหญ่อาการจะไม่รุนแรงหายได้เอง แต่ถ้ามีอาการรุนแรงจะเกิดภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ ผู้ป่วยอาจถึงแก่กรรมโดยเฉพาะในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ
สาเหตุ หากเป็นชนิดเฉียบพลัน มีอุจจาระร่วงน้อยกว่า 14 วัน โดยมีสาเหตุจากการติดเชื้อ ไวรัส บิด ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค มาลาเรียพยาธิบางชนิด ได้รับสารพิษจากเชื้อโรค โดยการรับประทานอาหารที่มีสารพิษ จากสารเคมีพวกตะกั่ว สารหนู ไนเตรท ยาฆ่าแมลง เกิดจากยาถ่าย ยาลดกรด ยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรค เกาต์ (Colchicine) รับประทานเห็ดพิษ กลอย
หากเป็นชนิดเรื่อรัง ซึ่งจะมีอุจจาระร่วงนานกว่า 4 สัปดาห์หรือ 30 วัน เป็น ๆ หาย ๆ มักเกิดจากกลุ่มอาการลำไส้ไวต่อสิ่งเร้า (Irritable bowel syndrome) เกิดจากการติดเชื้อบิดอะมีบา วัณโรคลำไส้ พยาธิแส้มา โรคเอดส์ เบาหวาน คอพอกเป็นพิษ จากภาวะพร่องเอนไซม์แลคเตส มีความผิดปกติในการดูดซึมของลำไส้เป็นเนื้องอก หรือมะเร็งของลำไส้หรือตับอ่อน รับประทานยาถ่ายหรือยาลดกรดเป็นประจำ อาจเกิดหลังผ่าตัดกระเพาะอาหาร เกิดภายหลังการฝังแร่รักษามะเร็งปากมดลูก มักถ่ายเป็นมูกเลือดเรื้อรัง เกิดจากเชื้อต่าง ๆ เช่น Vibrio cholerae, Enterotoxigenic E. Coli (ETEC), Staphylococcus aureus, Clostridium perfringens, Aeromonas hydrophila, Shigella spp., Salmonella spp. เป็นต้น
พยาธิสรีรภาพ เยื่อบุลำไล้จะสร้างสารน้ำมากเกินความสามารถในการดูดซึมกลับ มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย มีการอักเสบของลำไส้ ทางเดินอาหารมีการเคลื่อนไหวมากผิดปกติทำให้อาหารและน้ำผ่านลำไส้เร็วเกินไปและถูกดูดซึมกลับไม่ทัน ลำไส้มีการ
บีบเกร็งทำให้มีอาการปวดและมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย มีอาการท้องร่วงซึ่งทำให้ร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่ ปริมาณน้ำในร่างกายลดลง หากมีอาการรุนแรงจะทำให้ความดันเลือดต่ำ เกิดไตล้มเหลวเฉียบพลันได้ ร่างกายเสียสมดุลน้ำและอิเล็กโทรไลต์ เสียสมดุลกรด-ด่าง
อาการ มีไข้ ปวดท้อง และอุจจาระร่วง คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระอาจพบเยื่อมูกและมีเลือดปน อาการหนาวสั่น เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด เลือดจาง ตับและม้ามโต อาจมีอาการทางสมอง เด็กอาจมีอาการชักและซึม หากเกิดจากอหิวาตกโรคจะถ่ายเป็นน้ำซาวข้าว หากเป็นรุนแรงอาจมีภาวะขาดน้ำร่วมด้วย
การวินิจฉัยโรค จากประวัติและการตรวจร่างกายวัดสัญญาณชีพพบว่ามีไข้ จากประวัติการรับประทานอาหาร การเดินทาง การเจ็บป่วย การแพ้ยา ตรวจดูความตึงตัวของผิวหนัง ความดันเลือด ประเมินภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ อาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ลักษณะอุจจาระ ปริมาณ สี และจำนวนครั้งของอุจจาระ ผลการเพาะเชื้อจากอุจจาระโดยการทำ Rectal swab culture ตรวจอุจจาระด้วยกล้อง Microscope จะพบเม็ดเลือดแดง (Red blood cell; RBC) และอาจพบเม็ดเลือดขาว (White blood cell, WBC) เก็บอุจจาระในช่วง 48-72 ชั่วโมงเพื่อวิเคราะห์หาน้ำหนักไขมัน Osmolarity, pH, อิเล็กโทรไลต์ ตรวจเลือดอาจพบเม็ดเลือดขาว (White blood cell; WBC) สูงกว่าปกติ ตรวจดูพยาธิ การส่องกล้องตรวจ การตรวจเลือดเพื่อหา CBC (Complete blood count), Electrolytes, BUN (Blood urea nitrogen), Creatinine การเพาะเชื้อจากเลือดและอุจจาระ
และรักษาตามสาเหตุ หากอาการไม่มากไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะ หากมีอาการมาก เช่น มีไข้สูง ปวดท้องมาก ควรให้ยาปฏิชีวนะ เช่น Norfloxacin 400 มิลลิกรัม เช้า-เย็น นาน 2-7 วัน หากสงสัยว่าเกิดจาก Amebiasis ควรใช้ Metronidazole 400 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง นาน 5 วัน หากสงสัยอุจจาระร่วงจากอหิวาตกโรคควรใช้ Tetracycline 500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง นาน 3 วัน หรือให้ยาฆ่าเชื้อเฉพาะ เช่น เชื้อ Vibrio cholerae, Shigella, Salmonella เป็นต้น ให้ยาลดการบีบตัวของลำไส้พวก Loperamide อาจให้ยาระงับการอาเจียน ให้อาหารอ่อนย่อยง่ายให้ Oral rehydration therapy เพื่อป้องกันและรักษาการสูญเสียน้ำ อาจให้ทางหลอดเลือดดำ เช่น Lactated Ringer's solution, NSS, 0.45% NaHCO3 เป็นต้น อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงหรืองด ได้แก่ แอลกอฮอล์กาแฟ น้ำตาลแล็กโทส
และสารกลุ่ม Methyl xanthine เพราะอาหารเหล่านี้จะกระตุ้นการหลั่งของน้ำและอิเล็กโทรไลต์สู่โพรงลำไส้และทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวเพิ่มขึ้น หากติดเชื้อรักษาโดยการใช้ยาปฏิชีวนะ
การพยาบาล ประเมินร่างกายเพื่อดูปัญหาภาวะขาดน้ำและอิเล็กโทรไลต์ เช่น ความตึงตัวของผิว ชั่งน้ำหนัก วัดสัญญาณชีพ บันทึกน้ำเข้า-ออกจากร่างกาย บันทึกปัสสาวะทุกชั่วโมง ประเมินหาค่าอิเล็กโทรไลต์ เป็นต้น ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ ให้ยาปฏิชีวนะและยาบรรเทาอาการ เช่น ยาลดการเคลื่อนไหวของลำไส้ ยาระงับการอาเจียน ให้อาหารอ่อนย่อยง่ายทีละน้อยบ่อย ๆ ครั้ง แนะนำเรื่องสุขอนามัย เป็นต้น
Homepage
อ้างอิง : https://www.honestdocs.co/gastrointestinal-disorders-59975397/diarrhea-disease
Homepage
อ้างอิง : https://www.honestdocs.co/gastrointestinal-disorders-59975397/diarrhea-disease
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น