2.ไข้เลือดออก (Dengue)
โรคไข้เลือดออกคืออะไร ?
โรคไข้เลือดเกิดจากการติดเชื้อไวรัส "เด็งกี่" (Dengue) โดยมี ยุงลาย เป็นพาหะนำโรค ไข้เลือดออกนับเป็นโรคอันตรายเพราะถ้ารักษาไม่ทันอาจทำให้เสียชีวิตได้ แต่หากรู้ตัวและรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ก็สามารถรักษาให้หายได้ภายในเวลาไม่นาน ทั้งนี้หลายๆ คนอาจสับสนระหว่างโรคไข้เลือดออกกับโรคไข้หวัดใหญ่เพราะมีอาการเบื้องต้นคล้ายคลึงกัน ฉะนั้นจึงต้องสังเกตอาการเริ่มแรกให้ดี เพื่อแยกแยะความแตกต่างของไข้หวัดใหญ่กับ ไข้เลือดออก ให้ได้
โรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเด็งกี่ ซึ่งมีอยู่ 4 สายพันธุ์ ได้แก่ เด็งกี่-1 เด็งกี่-2 เด็งกี่-3 และเด็งกี่-4 หากได้รับเชื้อไวรัสไม่ว่าจะสายพันธุ์ใดก็สามารถเป็นโรคไข้เลือดออกได้ทั้งนั้น แต่หากร่างกายติดเชื้อจากสายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่งไปแล้ว ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานสายพันธุ์นั้นขึ้นมา หมายความว่าเราจะไม่ติดเชื้อจากสายพันธุ์นั้นอีกไปตลอดชีวิต แต่ยังมีโอกาสติดเชื้อจากสายพันธุ์อื่นได้
สาเหตุของโรคไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดมักระบาดในหน้าฝน เมื่อมียุงลายเพศเมียไปกัดคนที่มีเชื้อไวรัส เชื้อนั้นจะเข้าสู่กระเพาะของยุงและเข้าไปอยู่ในเซลล์บริเวณผนังกระเพาะ ไวรัสจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จากนั้นจะเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลายของยุงที่พร้อมจะเข้าสู่คนที่ถูกกัดต่อไป
เชื้อไวรัสจะมีระยะฟักตัวในยุงประมาณ 8-12 วัน เมื่อยุงตัวนั้นกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไวรัสไปยังผู้ที่ถูกกัดต่อไป เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจนผ่านระยะเวลาฟักตัวนาน 5-8 วัน (สั้นที่สุด 3 วัน - นานที่สุด 15 วัน) หลังจากนั้นจะมีอาการเหมือนไข้หวัด คือ มีไข้ ตัวร้อน ไอ คลื่นไส้ เวียนหัว เป็นต้น จึงอาจทำให้เกิดการวินิจฉัยผิดพลาดได้ในกรณีที่โรคยังไม่ถึงระยะลุกลาม ดังนั้นเมื่อพบผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายกับไข้หวัด แพทย์จึงมักสั่งให้ตรวจเลือดเพื่อค้นหาว่าผู้ป่วยติดเชื้ออะไร ซึ่งส่วนใหญ่มักจะตรวจหาเชื้อไข้เลือดออกและไข้หวัดใหญ่
ยุงลายที่มีเชื้อไวรัสเด็งกี่จะพบเป็นจำนวนมากในแถบประเทศเขตร้อนและเขตอบอุ่น จากข้อมูลของสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทยพบว่า พ.ศ. 2557 พบผู้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกร่วม 40,000 ราย ปัจจุบันสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย เดือน 18 มิถุนายน พ.ศ. 2562 มีจำนวนผู้ป่วยสะสมมากถึง 31,843ราย เสียชีวิตแล้ว 48 ราย เมื่อเทียบกับสถิติช่วงเดียวกันของปีที่แล้วพบว่า มีจำนวนผู้ป่วยสะสม 19,804 ราย เสียชีวิต 24 ราย จะเห็นได้ว่า มีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 1.6 เท่า ไข้เลือดออกจึงเป็นโรคที่น่ากลัวไม่น้อยเลยทีเดียว
ส่วนใหญ่แล้วคนปกติที่มีร่างกายแข็งแรงจะมีภูมิคุ้มกันโรค แต่เด็กหรือคนที่มีสภาพร่างกายไม่แข็งแรง เชื้อไข้เลือดออกจะเข้าทำลายระบบการไหลเวียนของเลือด ผนังเซลล์เม็ดเลือดแดง และทำลายอวัยวะภายในร่างกายจนมีเลือดออก
อาการของโรคไข้เลือดออก
อาการของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกมีความรุนแรงต่างกัน แต่อาการที่เด่นชัดคือ มีไข้คล้ายอาการไข้หวัดทั่วไปคือ เป็นไข้ ตัวร้อน ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน บางรายมีอาการความดันโลหิตต่ำ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดตามข้อ ปวดตามกระดูก ปวดตา ตาพร่า ท้องเสีย
ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจะมีภาวะเลือดออก พบบ่อยที่สุดคือบริเวณผิวหนัง มีเลือดออกเป็นจุดเล็กๆ กระจายอยู่เต็มตามแขน ขา ลำตัว และรักแร้ รวมทั้งเลือดออกที่อวัยวะภายในร่างกาย เช่น ทางเดินอาหาร บางคนอาเจียนและถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ผู้ป่วยอาจมีอาการตับโต เมื่อกดจะรู้สึกเจ็บ มีเลือดออกที่ตับ ม้าม หรือมีอาการของไตวาย รวมทั้งมีโอกาสเกิดภาวะช็อกร่วมด้วยซึ่งอันตรายมาก
ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจะมีภาวะเลือดออก พบบ่อยที่สุดคือบริเวณผิวหนัง มีเลือดออกเป็นจุดเล็กๆ กระจายอยู่เต็มตามแขน ขา ลำตัว และรักแร้ รวมทั้งเลือดออกที่อวัยวะภายในร่างกาย เช่น ทางเดินอาหาร บางคนอาเจียนและถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ผู้ป่วยอาจมีอาการตับโต เมื่อกดจะรู้สึกเจ็บ มีเลือดออกที่ตับ ม้าม หรือมีอาการของไตวาย รวมทั้งมีโอกาสเกิดภาวะช็อกร่วมด้วยซึ่งอันตรายมาก
เมื่อเปรียบเทียบกับไข้หวัด อาการของไข้เลือดออกที่เห็นชัดมีดังนี้
- มีไข้สูงเฉียบพลัน แต่ส่วนมากไม่มีน้ำมูก ไม่ไอ
- อาจพบว่ามีจุดเลือดออกตามผิวหนัง
- มีเลือดออก (กรณีอาการถึงขั้นรุนแรง) เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน อาจถ่ายหรืออาเจียนเป็นเลือด
ผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่จะมีอาการรุนแรงในช่วง 3-5 วัน หลังได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย จากนั้นอาการอาจจะทุเลาลงไประยะหนึ่งและมีอาการรุนแรงขึ้นมาอีก จนอาจถึงขั้นช็อกและเสียชีวิตได้ แต่หากได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็สามารถหายจากโรคได้ภายในไม่กี่วัน
สำหรับอาการของโรคไข้เลือดออกสามารถสังเกตได้ดังนี้
- ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงลอยประมาณ 2-7 วัน ส่วนใหญ่ไข้จะสูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส หรืออาจสูงถึง 40-41 องศาเซลเซียส โดยอาจเกิดขึ้นได้อย่างเฉียบพลัน ในบางรายอาจมีอาการชักเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะในเด็กที่เคยมีประวัติการชักมาก่อน
- ผู้ป่วยจะมีอาการเลือดออก พบบ่อยที่สุดบริเวณผิวหนัง โดยจะพบว่า มีเส้นเลือดเปราะและแตกง่ายร่วมกับมีจุดเลือดออกเป็นจุดเล็ก ๆ กระจายอยู่เต็มตามแขน ขา ลำตัว และรักแร้ ทั้งนี้อาจมีเลือดดำหรือเลือดออกตามไรฟันร่วมด้วย สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการขั้นรุนแรง อาจมีอาการอาเจียนและถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ซึ่งมักจะเป็นสีดำ สำหรับอาการเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนใหญ่จะพบร่วมกับภาวะช็อกในผู้ป่วยที่มีการช็อกอยู่นาน
- ผู้ป่วยจะมีอาการตับโต เมื่อกดจะรู้สึกเจ็บ โดยส่วนใหญ่จะพบว่าผู้ป่วยมีอาการตับโต ในช่วงวันที่ 3-4 นับตั้งแต่เริ่มมีอาการ
- ผู้ป่วยจะมีภาวะระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยไข้เลือดออกอาจจะมีอาการรุนแรง หรือเรียกว่า ภาวะช็อก เนื่องจากมีการรั่วของพลาสมาออกไปยังช่องปอด หรือช่องท้อง เกิดภาวะช็อกจากการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ (Hypovolemic Shock) ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับไข้ที่ลดลงอย่างรวดเร็ว
สำหรับช่วงเวลาที่ผู้ป่วยเกิดอาการช็อกนั้นจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่มีไข้ด้วยเช่นกัน อาจจะเกิดได้ตั้งแต่วันที่ 3 หรือวันที่ 8 ของวันที่ป่วย ทั้งนี้ผู้ป่วยอาจจะมีอาการแย่ลง โดยเริ่มมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเริ่มเย็น ชีพจรเบา และความดันโลหิตมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่า อาการของผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออกและไข้หวัดนั้นใกล้เคียงกันมาก จึงทำให้ผู้ป่วยและคนรอบข้างชะล่าใจ เนื่องจากคิดว่าเป็นแค่ไข้หวัดธรรมดา กว่าจะรู้ตัวอีกครั้งก็เมื่อมีอาการเลือดออกมากผิดปกติ มีไข้ อาเจียน ปวดท้อง ปัสสาวะน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด มือ เท้าเย็น ตาลาย เหงื่อออกมาก หากอาการเหล่านี้เกิดขึ้นในช่วงที่ไข้ลด ถือเป็นสัญญาณอันตรายต้องรีบนำผู้ป่วยไปพบแพทย์โดยด่วนเพราะอาจช็อกหมดสติได้
ดังนั้นทางที่ดีเมื่อพบว่าตนเองมีอาการป่วยไข้ อย่านิ่งนอนใจให้รีบมาพบแพทย์ หรือถ้าหากกินยาแล้วอาการไม่ทุเลาลงแต่กลับมีไข้สูง ให้รีบเช็ดตัวผู้ป่วยเพื่อลดไข้ และรับประทานยาพาราเซตามอล จากนั้นให้รีบมาพบแพทย์เพื่อรักษาต่อไป
Homepage
อ้างอิง : https://www.honestdocs.co/dengue-symptoms-and-prevention
Homepage
อ้างอิง : https://www.honestdocs.co/dengue-symptoms-and-prevention
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น